ผู้เขียน หัวข้อ: จัดฟันบางนา: วิธีรับมือ “ฟันโยก” ก่อนเป็นอันตราย !  (อ่าน 60 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 211
  • โปรโมทเว็บ ลงโฆษณา ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วขึ้น
    • ดูรายละเอียด
จัดฟันบางนา: วิธีรับมือ “ฟันโยก” ก่อนเป็นอันตราย !

เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยประสบปัญหา “ฟันโยก” เนื่องจากว่าฟันโยกนั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัว
ซึ่ง ฟันโยก คือ อาการของฟันคลอนคล้ายใกล้จะหลุดออก ซึ่งถือว่าเป็นอาการปกติมากๆในวัยเด็ก แต่สำหรับวัยผู้ใหญ่ หรือชรา ที่มีฟันแท้ครบ 32 ซี่แล้ว ฟันโยกอาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอก ถึงโรคอันตรายในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นฟัน หรือเหงือกก็ได้ หากในวัยผู้ใหญ่พบว่ามีอาการฟันโยก ควรรีบเข้าพบทันตแพทย์ เพื่อให้วินิจฉัยอาการเป็นดีที่สุด อย่าปล่อยไว้จนกลายเป็นโรคอื่นตามมา ซึ่งในวันนี้จะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับฟันโยก พร้อมกับวิธีรับมือที่ถูกต้องดังต่อไปนี้

ฟันโยก คืออะไร ?
ฟันโยกนั้นเกิดจากการที่ฟันค่อยๆหลุดออกจากเหงือกทีละน้อยจนทำให้สามารถโยกคลอนได้ ซึ่งเมื่อเกิดฟันโยกขึ้น ฟันนั้นสามารถที่จะหลุดออกมาได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร หรือเพียงสัมผัสเบาๆ ก็สามารถทำให้หลุดได้ ซึ่งหากพบว่าเริ่มมีอาการฟันโยกแล้วล่ะก็ สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกๆ คือ รักษาช่องปากให้สะอาด และพบทันตแพทย์ เพื่อให้ตรวจวิเคราะห์อาการ
ส่วนอาการที่อาจจะเกิดร่วมกับฟันโยกได้ก็คือ มีเลือดออกตามไรฟัน , เหงือกบวม , เหงือกร่น และ เหงือกมีสีแดงสด


ฟันโยก เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

– พัฒนาการตามวัย
ในวัยเด็กนั้น อาการฟันโยกถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติ และจะเกิดขึ้นกับฟันน้ำนม ซึ่งเมื่อถึงช่วงเจริญวัย ก็จะทำให้ฟันน้ำนมโยก และหลุดออก เพื่อเปิดทางให้ฟันแท้ขึ้นมาแทนที่นั่นเอง

– กัดฟัน
เมื่อฟันถูกกดจากการกัดฟันอย่างรุนแรง อาจจะทำให้เกิดฟันโยก หรือปัญหาสุขภาพฟันอื่นๆ ตามมาอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นปวดใบหน้า หรือ ปวดศีรษะ ก็เป็นได้เช่นกัน

– โรคเหงือก
การติดเชื้อแบคทีเรียที่เหงือกอย่างรุนแรง ก็อาจจะส่งผลให้เกิดเป็นโรคเหงือกระยะรุนแรง ซึ่งส่งผลให้เกิดฟันโยกได้ด้วยเช่นกัน

– อุบัติเหตุ
เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันโยก นั่นก็คือ การหกล้อ หรือประสบอุบัติเหตุ ที่กระทบกระเทือนที่ใบหน้า หรือที่ปาก ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันโยกได้เช่นกัน

เมื่อฟันโยก ควรทำอย่างไร ?

ต้องแยกให้ออกว่าโยกเพราะอะไร หากเป็นการที่ฟันโยกในวัยเด็ก และไม่มีอาการแทรกซ้อนอย่างอื่น ก็ควรปล่อยให้โยกจนหลุดออกไปเองตามธรรมชาติ เพราะหากเราทำการถอนฟันก่อนกำหนด ก็อาจจะส่งผลเสียคือเหงือกติดเชื้อได้ง่ายอีกด้วย

แต่หากเป็นการเกิดฟันโยกในลักษณะอื่น นอกเหนือจากฟันโยกตามธรรมชาติ ในวัยพัฒนาการ ก็ควรรีบหาสาเหตุโดยการไปพบทันตแพทย์ ก่อนที่จะลุกลามไปเป็นโรคอันตรายอย่างอื่น

หากฟันโยกจากการกัดฟัน ควรแก้ไขด้วยวิธีตัดแต่งผิวเคลือบฟัน เพื่อลดการเกิดการกดบดเคี้ยว จากการกัดฟันอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดฟันโยกได้
ส่วนถ้าเป็นฟันโยกจากโรคเหงือกนั้นมีวิธีแก้ไขหลายอย่างดังต่อไปนี้

– รับประทานยา ตาที่ทันตแพทย์ให้มาให้ครบตรงตามเวลา เพื่อรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรีย
– ขูดหินปูน เพื่อขจัดคราบแบคทีเรีย และทำให้ช่องปากสะอาดลดการก่อตัวของเชื้อโรคในช่องปาก
– เหลารากฟัน เป็นการทำความสะอาดที่ลึกลงไปที่ร่องเหงือกรากฟัน เพื่อเป็นการรักษาโรคเหงือกอีกวิธีหนึ่ง
– ใส่เฝือกฟัน หากฟันที่โยกไม่ได้หลุดออกมา ทันตแพทย์อาจจะเลือกวิธีนี้เพื่อยุดฟันกับซี่ข้างๆ เพื่อไม่ให้หลุดออกมาและทำการรักษา ได้ไม่เสียฟันแท้ตามธรรมชาติไป
– ฝังรากฟันเทียม วิธีนี้ทันตแพทย์นิยมใช้เมื่อมีอาการขอโรคเหงือกและฟันโยกอย่างรุนแรง โดยถอนซี่ที่โยกออก และใส่สะพานฟันซึ่งเป็นฟันปลอมแทนที่ เพื่อไม่ให้เกิดการเรื้อรังจนนำไปสู่ฟันซี่อื่น


ฟันโยก ป้องกันได้อย่างไร ?

– ใส่ฟันยางครอบ
หลายคนอาจจะมองว่าฟันยางเป็นสิ่งที่ไม่ได้มีความจำเป็นอะไรมากมายนัก แต่จริงๆแล้วฟันยางนั้นมีประโยชน์มากในเรื่องของช่องปากที่ห้ามไม่ได้ เหมาะสำหรับใส่ในขณะนอนป้องกันการกัดฟัน หรือ ใส่ในขณะเล่นกีฬาต่างๆ กันโดนกระแทก นี่ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยป้องกันฟันโยกที่เกิดจากสภาพแวดดล้อมเกินควบคุมได้เป็นอย่างดีวิธีหนึ่ง

– แปรงฟันให้สะอาด และถูกวิธี
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นการป้องกันที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง โดยการแปรงฟันเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และแปรงฟันอย่างถูกวิธีจะช่วยทำให้สุขภาพช่องปากนั้นแข็งแรง ปลอดภัยจากโรคมากมายที่เกิดกับฟัน รวมถึงป้องกันฟันโยกด้วยเช่นกัน

– ใช้ไหมขัดฟัน
หลักจากที่แปรงฟันบ้วนปากอย่างถูกต้องแล้ว การใช้ไหมขัดฟันในการทำความสะอากซอกฟันที่แปรงไม่สามารถเข้าถึงก็เป็นวิธีป้องกันการเกิดโรคต่างๆในช่องปากได้ดีอย่างมาก

– พบทันตแพทย์
เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่หลายๆคนละเลยนั่นคือการพบทันตแพทย์อย่างน้อย ทุก 6 เดือน เพื่อจะได้ป้องกัน และตรวจเช็คสุขภาพช่องปาก อย่างน้อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคอันตรายอื่นๆตามมาอีกด้วย