ผู้เขียน หัวข้อ: all new mitsubishi triton 2024: Mitsubishi Triton PHEV 2023 มีความเป็นไปได้ที่จะ  (อ่าน 276 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 211
  • โปรโมทเว็บ ลงโฆษณา ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วขึ้น
    • ดูรายละเอียด
all new mitsubishi triton 2024: Mitsubishi Triton PHEV 2023 มีความเป็นไปได้ที่จะ
« เมื่อ: วันที่ 14 สิงหาคม 2024, 23:45:30 น. »
all new mitsubishi triton 2024: Mitsubishi Triton PHEV 2023 มีความเป็นไปได้ที่จะมุ่งสู่ EV เต็มรูปแบบ

Mitsubishi Triton เจนเนอเรชั่นใหม่ อาจได้รับการปรับปรุงระบบส่งกำลังซึ่งพบใน Outlander ปลั๊กอินไฮบริด และอาจมีรุ่นที่ใช้ไฟฟ้าทั้งหมดตามมา มิตซูบิชิได้ยืนยันและเปิดเผยว่า ไม่เพียงแต่กำลังตรวจสอบรุ่น Plug-in Hybrid ของ Triton เจเนอเรชั่นใหม่เท่านั้น แต่ยังมีการสำรวจถึงการเป็นรุ่นไฟฟ้าแบบเต็มรูปแบบอีกด้วย

คุณเคนทาโร่ ฮอนดะ หัวหน้าวิศวกรของมิตซูบิชิ สำหรับรถ SUV รุ่นใหม่ ได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้ในงานเปิดตัว Outlander PHEV ของออสเตรเลีย โดยกล่าวว่าแบรนด์ต้องการนำเสนอผลสำเร็จที่ Ford ได้บรรลุด้วยรถไฟฟ้ารุ่น F-150 Lightning โดยเขากำลังสำรวจวิธีการใช้ระบบ PHEV (ในรุ่น Outlander) ในรถกระบะประเภทต่างๆ รวมทั้งรถกระบะไฟฟ้า โดยมีรถ Ford Lightning เป็นตัวอย่างที่ดี เพื่อใช้เป็นตัวช่วยในการพัฒนารถกระบะไฟฟ้าของ Mitsubishi อีกด้วย

คุณฮอนดะไม่ได้เผยว่ารถไฟฟ้าในรุ่น Triton จะวางจำหน่ายเมื่อไหร่ แต่กล่าวเพิ่มเติมไว้ว่าบทบาทของ Mitsubishi ในพันธมิตรร่วม Renault/Nissan/Mitsubishi จะเป็นสิ่งที่สำคัญ

“พันธมิตรมีรถยนต์ไฟฟ้าประเภทโดยสาร ดังนั้นผมคิดว่า Mitsubishi ควรมีรถกระบะประเภท EV หรือไฮบริดด้วยเช่นกัน”

ประธาน Mitsubishi ของออสเตรเลีย คุณชอน แวสต์คอตต์ ยังเสนอการสนับสนุนรถ Triton รุ่นใหม่ในรูปแบบไฮบริด โดยกล่าวว่า เทคโนโลยีนี้มีประโยชน์มากกว่าแค่การประหยัดเชื้อเพลิง


Mitsubishi XRT Concept

มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น นำโดย มร. ทาคาโอะ คาโตะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เผยโฉมรถยนต์ “มิตซูบิชิ เอ็กซ์อาร์ที คอนเซ็ปต์” ซึ่งเป็นรถต้นแบบของรถกระบะ ไทรทัน รุ่นใหม่1 ที่งานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 44 ในระหว่างวันที่ 21 มีนาคม ถึง 2 เมษายนนี้ โดยมีแผนเปิดตัวรถอย่างเป็นทางการภายในปีนี้

“มิตซูบิชิ เอ็กซ์อาร์ที คอนเซ็ปต์” เป็นรถต้นแบบของรถกระบะไทรทัน โมเดลใหม่ ที่มาพร้อมดีไซน์ดุดันสะดุดตาตั้งแต่ด้านหน้าจรดท้าย เสริมอารมณ์แกร่งด้วยเส้นนำสายตาจากกระโปรงหน้าสู่ด้านข้างตัวถังในสไตล์แนวราบ พร้อมการตกแต่งเหนือซุ้มล้อหน้า-หลัง และติดตั้งยางลุยโคลน (mud-terrain) ที่ช่วยเพิ่มพลังขับเคลื่อนเต็มสปีด ปราดเปรียวพร้อมพุ่งทะยานในทุกเส้นทางสุดหฤโหดของการแข่งขันแรลลี่ ตัวถังห่อหุ้มด้วยลายพราง ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจาก “ลาวา” หินภูเขาไฟที่อัดแน่นด้วยพลังงาน อันทรงพลัง พร้อมด้วยกราฟฟิกเส้นขนานแนวเฉียง 10 เส้น ในแบบฉบับของโลโก้ แรลลี่อาร์ท ที่สะท้อนถึงจิตวิญญาณที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้าของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ได้อย่างโดดเด่น

มร. ทาคาโอะ คาโตะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า “ปีงบประมาณ 2566 เป็นปีที่มีความสำคัญสำหรับมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ในการเร่งสร้างการเติบโตทางธุรกิจของเราในภูมิภาคอาเซียน ด้วยการเปิดตัวไทรทัน รุ่นใหม่ และรถคอมแพ็กต์เอสยูวีรุ่นใหม่ โดยรถไทรทัน รุ่นใหม่ อยู่ระหว่างการทดสอบในขั้นตอนสุดท้ายเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดตัว ซึ่งเราได้ดำเนินการทดสอบอย่างเข้มข้นทั่วโลก พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สั่งสมมาจากการแข่งขันแรลลี่ไว้ในรถรุ่นนี้ และด้วยการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ตามแผนที่วางไว้ จะทำให้เราเดินหน้าขับเคลื่อนการเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ผมขอให้ทุกท่านโปรดติดตามความเคลื่อนไหวของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ในอนาคต อย่างใกล้ชิด”

แผนหลักของ “ชาเลนจ์ 2025” (Challenge 2025) ในการดำเนินธุรกิจในอนาคต ประกอบด้วย

    มุ่งสู่เป้าหมายยอดจำหน่ายรถยนต์ที่ 1.1 ล้านคัน และผลกำไรจากการปฏิบัติงาน 2.2 แสนล้านเยน หรือประมาณ 5.7 หมื่นล้านบาท (อัตราส่วนกำไรจากการปฏิบัติงานร้อยละ 7)
    ให้ความสำคัญต่อการจัดการทรัพยากรเพื่อการดำเนินงานในภูมิภาคอาเซียน / โอเชียเนีย ควบคู่ไปกับการเพิ่มยอดขาย ส่วนแบ่งตลาด และรายได้
    เปิดตัวรถยนต์ 16 รุ่น ภายใน 5 ปีข้างหน้า [รวมถึงรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (xEV) 9 รุ่น]
    ขยายการลงทุนเพิ่มประมาณร้อยละ 30 ภายใน 6 ปีข้างหน้า จนถึงปี 2571 ด้านการวิจัยและพัฒนา และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (คาดว่าการจัดสรรการลงทุนด้านระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า ไอที และธุรกิจใหม่จะมีอัตราส่วนประมาณร้อยละ 70 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2569 เป็นต้นไป)
    ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยขับเคลื่อนสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน
    ลงทุนมูลค่า 2.1 แสนล้านเยน หรือประมาณ 5.4 หมื่นล้านบาท ภายในปี 2573 เพื่อจัดหาแบตเตอรี่รวมทั้งหมด 15 กิกะวัตต์ชั่วโมง
    กระชับความสัมพันธ์กับบริษัทพันธมิตร (การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริมกัน และอื่น ๆ)
    สร้างความท้าทายในธุรกิจใหม่ ด้วยการใช้สินทรัพย์ที่มีความพิเศษเฉพาะสำหรับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ (การจัดการพลังงาน การนำแบตเตอรี่กลับมาใช้ใหม่ การจำหน่ายข้อมูล และอื่น ๆ)